You are currently viewing แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีใช้กัญชา ในระหว่างทำเคมีบำบัด

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีใช้กัญชา ในระหว่างทำเคมีบำบัด

advise how to use marijuana. during chemotherapy:

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม หรือวัฒนธรรมร่วมสมัย คำว่า “กัญชา” (Cannabis) และ “การรักษามะเร็ง” (cancer treatment) มักจะไปด้วยกันในความคิดโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

งานวิจัย – มีหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการสนับสนุนการใช้กัญชาในการรักษาโรคมะเร็งและอาการที่เกิดร่วม เช่น ความเจ็บปวด อาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร น่าเสียดายว่าด้วยข้อจำกัดสถานะทางกฎหมายของกัญชาควบคู่ไปกับการมีแพทย์ไม่เพียงพอที่ศึกษาด้านกัญชาเฉพาะจึงเป็นเหตุให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา (oncologists) หลายคนลังเลที่จะแนะนำกัญชาให้กับผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยจึงมักใช้กัญชากันเองโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ

ในปี 2018 จากการสำรวจผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบว่า 1ใน 8 ของจำนวนผู้ป่วยรายงานว่าได้ใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการมะเร็ง ซึ่งในการสำรวจเดียวกันมีผู้ป่วยเพียง 15% เท่านั้นที่เห็นด้วยกับข้อความว่า “ กัญชารบกวนยาตัวอื่นๆ” ความเห็นนี้เป็นความเข้าใจผิดๆ เป็นแนวคิดที่คลาดเคลื่อนซึ่งเป็นอันตราย ตามที่ Dr. Joseph Rosado แพทย์ด้านกัญชา, อาจารย์ผู้บรรยายและผู้เขียนหนังสือ Hope and Healing: The Case for Cannabis อธิบายว่ากัญชามีปฏิกิริยาเกิดผลกับยาทุกตัวที่ผ่านกระบวนการทางตับ รวมถึงยาเคมีบำบัดทุกชนิด และสิ่งที่ควรรู้คือ จนถึงปัจจุบัน Dr. Rosado ได้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยยากัญชาเกือบ 400 ราย จากการพูดคุยกับ Dr. Rosado เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกัญชาและยาเคมีบำบัด

กัญชามีปฏิกิริยากับยาเคมีบำบัดได้อย่างไร?

เมื่อบริโภคกัญชาเข้าไปในร่างกายทางช่องปาก สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ในกัญชา เช่น THC และ CBD จะมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยไซโตโครม P450 (CYP) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในตับ ปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะมีผลทำให้ระดับของยาตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น ลดลง หรือเพิ่มขึ้นแล้วก็ลดลง ร่างกายของเราใช้เอนไซม์ CYP ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพของยา (Drug metabolism) เพื่อเผาผลาญยาส่วนใหญ่ที่เราบริโภคที่วางตลาด 60% รวมไปถึงยาเคมีบำบัดทั้งหมด และยาต้านโรคลมชัก, ยารักษาโรคหัวใจและยาต้านเชื้อรา (ยาที่ชื่อลงท้ายด้วย “azole”)

ยาเคมีบำบัด (ยาคีโม) เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งหมายความว่าพวกมันเป็นพิษต่อเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหมด จุดมุ่งหมายของการทำเคมีบำบัด คือการฆ่าเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้พร้อมกับลดการตายของเซลล์ที่มีเม็ดเลือดดี เนื่องจากการมีปฏิกิริยากับเอนไซม์ CYP ผู้ป่วยที่ใช้ยากัญชาพร้อมกับการทำเคมีบำบัดจะมีความเสี่ยงต่อการมีความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นพิษที่แตกต่างกันในเลือดมากกว่าที่คาดไว้ ทำให้กัญชาและเคมีบำบัดเป็นส่วนผสมที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้

ผู้ป่วยที่รักษาด้วยเคมีบำบัดสามารถใช้กัญชาได้หรือไม่?

ข่าวดีอ้างอิงจาก Dr. Rosado ที่อธิบายว่ากัญชาสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ปฏิกิริยาในตับที่มีต่อกันกับยา สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายโดยเปลี่ยนวิธีการจัดการกับการให้ยากัญชาของผู้บริโภค

ปฏิกิริยาของเอนไซม์ CYP ในตับส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการบริโภคยาทางช่องปาก (ยาเม็ด, ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา(edibles), ทิงเจอร์) และการให้ยาโดยการอมใต้ลิ้นหรือหยดใต้ลิ้น (sublingual administration) Dr.Rosado กล่าวว่า “ ตับสามารถหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาได้หากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้ยา เช่นให้ยาด้วยวิธีการสูดดม หรือ inhalation (ไอระเหย, สูบบุหรี่, ยาสูดพ่น), การใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังเฉพาะที่ เช่นแผ่นปะและครีม, ยาให้ทางทวารหนัก, การให้ยาผ่านเยื่อบุช่องคลอดภายใน (สอดช่องคลอด,ยาเหน็บ)

จากวิธีการเหล่านี้ Dr. Rosado แนะนำให้ใช้วิธีสูดดม (inhalation) เขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องของการดูดซึมยา (absorption) เข้าสู่ร่างกาย เมื่อคุณสูดดม ยากัญชา 100% จะถูกดูดซึมภายใน 3 ถึง 5 นาที ผ่านการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด โดยสาร Cannabinoids ผูกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรงทำให้เส้นทางของยาเข้าสู่กระแสเลือดทันที ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยจะได้ผลคุ้มค่ากว่าจากการใช้กัญชาด้วยวิธีสูดดม (inhalation)”

Dr. Rosado อธิบายว่า การสูดดมจะปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อผู้ป่วยใช้ Cannabinoids ในรูปแบบกรด (ไม่ถูกกระตุ้น) เช่น CBDA (Cannabidiolic Acid) ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ทำให้เกิดการเผาผลาญในลักษณะเดียวกับ Cannabinoids ที่ไม่เป็นกรด

เพื่อให้แน่ใจว่าสาร Cannabinoids ไม่ได้ถูกกระตุ้น Dr. Rosado แนะนำว่าผู้ป่วยควรตั้งค่าอุณหภูมิความร้อนของอุปกรณ์สูดดมกัญชาในรูปของไอระเหย (vaporize cannabis flowers) ที่ 131°F (5 °C) หรือต่ำกว่านั้น เขายังแนะนำให้สูดดมกัญชาในรูปของไอระเหยมากกว่าการสูบในรูปของบุหรี่ซึ่งเป็นควัน การสูบบุหรี่กัญชามีผลกระทบเชิงลบซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ดีสำหรับการใช้ยา

ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้กัญชาด้วยวิธีสูดดม จะทำอย่างไร?

Dr. Rosado กล่าวว่าผู้ป่วยไม่ควรใช้กัญชาทางช่องปาก (oral) หรือหยดใต้ลิ้น อมใต้ลิ้น (sublingual) ในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดและห้ามรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วน (edible) ผสมภายใน 1.5-2 ชั่วโมงของการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่เป็นอันตราย นอกจากนี้เขายังแนะนำว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับจะต้องไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา (edible) เพราะมะเร็งตับจะไปลดความสามารถของตับในการเผาผลาญกัญชาซึ่งไม่ต้องพูดถึงความเป็นพิษที่เกิดจากเคมีบำบัด

Dr. Rosado ได้แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มชาอุณหภูมิต่ำที่ทำมาจากดอกกัญชาสด (ดอกตูม) หากผู้ป่วยไม่สามารถสูดดมกัญชาได้ ไม่ว่าจะใช้กัญชาทางการแพทย์ด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้ป่วยต้องเปิดเผยข้อมูลการใช้ยารักษาด้วยตนเองเบื้องต้นนี้ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งทราบด้วยอย่างละเอียด มะเร็งบางชนิดต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติมเมื่อใช้กัญชา ตัวอย่างเช่น สาร THC อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป ตัดสินไม่ได้) ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงให้ความสนใจมากกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่ผลิตฮอร์โมน (เช่น มะเร็งรังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งอัณฑะ) และการใช้กัญชา

กัญชาทางการแพทย์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งหันมาใช้ในการรักษา ขณะเดียวกันหากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจเกิดโทษมหันต์ ส่งผลร้าย เกิดอันตราย ทั้งนี้การใช้กัญชาในการบำบัดโรคต่างๆ ผู้ใช้ต้องศึกษาให้ดี รอบคอบ และควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบข้อมูลโดยละเอียด รวมทั้งขอคำปรึกษาและคำแนะนำในเรื่องผลกระทบเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกาย

Leave a Reply