You are currently viewing ทำความรู้จัก กัญชงคืออะไร มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไร

ทำความรู้จัก กัญชงคืออะไร มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไร

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่ากัญชงกับกัญชา แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มองผ่าน ๆ ทำไมหน้าตาถึงได้คล้ายกันจนแยกไม่ออกแล้วตามความคิดของคุณ คุณคิดว่าพืชทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นยาเสพติดหรือพืชสมุนไพรไปไขความกระจ่างกับบทความนี้กันเลย

พืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์

กัญชา (Marijuana) และกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างกัญชงและกัญชาก็คือปริมาณสาร THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดอาการเคลิ้มและง่วง หรือที่เรียกกันว่า “เมากัญชา” ในกัญชงมีปริมาณน้อยกว่า รวมถึงลักษณะของเส้นใยกัญชงที่มักจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น ขณะที่กัญชามักจะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์มากกว่า

ดังนั้นแม้ว่าทั้งกัญชงและกัญชาจะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันและมีหน้าตาคล้ายกันมาก แต่ประโยชน์ที่นำมาใช้งานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน

กัญชง ลักษณะทางกายภาพและสารสำคัญ

ใบกัญชง

รู้จัก กัญชง คืออะไร

กัญชง เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกัญชาแต่เป็นสายพันธุ์ย่อย โดยกัญชงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า เฮมพ์ (Hemp) ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกัญชง คือ Cannabis sativa L.subsp. sativa ทั้งในกัญชงยังมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือที่เราเรียกว่าสาร THC หรือสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ทำให้มึนเมา ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ซึ่งน้อยกว่ากัญชามาก ส่งผลให้ผู้เสพกัญชงมีอาการมึนเมาหรือหลอนประสาทน้อยกว่านั่นเอง

  • กัญชง (Hemp)
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.subsp. Sativa
  • สีของใบ: เขียวอ่อน
  • ลักษณะใบ: ใบเรียว เรียงตัวห่างกว่าใบกัญชามีแฉกประมาณ 7-11 แฉก
  • ลำต้น: ลำต้นสูงเรียวมากกว่า 2 เมตร
  • กิ่งก้าน: แตกกิ่งก้านน้อย
  • เส้นใย: เส้นใยให้ปริมาณมากกว่ากัญชาและมีคุณภาพสูง
  • เมล็ด: มีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ มีลายบ้าง
  • ปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol): THC ไม่เกิน 1%
  • ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol): CBD เกิน 2%
  • ประโยชน์: มักนำแปรรูปมาใช้ในงานสิ่งทอ, ทำกระดาษ, เมล็ดสกัดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและ เวชสำอาง

สรรพคุณทางยาของกัญชง ที่หลายคนอาจไม่รู้

หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่า ภายในกัญชงมีสารสำคัญอยู่ 2 ตัว คือ สาร THC และสาร CBD อยู่ในปริมาณน้อย เมื่อนำมาทำเป็นสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลัก และมี THC ไม่เกิน 0.2% คุณจะได้ยาที่มีสรรพคุณที่น่าสนใจ เช่น

  • ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มความสดชื่น
  • ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับหรือมีภาวะหลับยาก
  • ลดอาการปวดศีรษะ หรือปวดไมเกรน
  • บำรุงโลหิต
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เนื่องจากเมล็ดกัญชงมีกรดไขมันดีอย่างโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6
  • ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด
  • ต้านการอักเสบ เชื้อจุลชีพและเชื้อรา
  • ช่วยรักษาโรคทางด้านประสาทต่าง ๆ
  • กระตุ้นความอยากอาหาร ฯลฯ

กัญชา ลักษณะทางกายภาพและสารสำคัญ

ใบกัญชา

รู้จัก กัญชา คืออะไร

กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

  • กัญชา (Marijuana)
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.subsp. Indica
  • สีของใบ: เขียวเข้ม
  • ลักษณะใบ: ใบหนากว้าง เรียงตัวชิดกัน มีแฉกประมาณ 5-7 แฉก
  • ลำต้น: ลำต้นเตี้ยเป็นพุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร
  • กิ่งก้าน: แตกกิ่งก้านมาก
  • เส้นใย: เส้นใยคุณภาพต่ำกว่ากัญชง
  • เมล็ด: มีขนาดเล็กกว่า ผิวมีลักษณะมันวาว
  • ปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol): THC เกิน 1%
  • ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol): CBD ไม่เกิน 2%
  • ประโยชน์: นิยมนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์

กัญชงและกัญชา เป็นหรือไม่เป็นสารเสพติด ?

กัญชงถูกจัดให้เป็นพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เนื่องจากกัญชงเป็นพืชสายพันธุ์ย่อยของกัญชาที่มีสารเสพติดออกฤทธิ์สำคัญที่ชื่อว่า THC (Tetrahydrocannabinol) แต่ในปัจจุบันกัญชาและกัญชงถูกปลดล็อคจากกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกประกาศกฎกระทรวงเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ให้บางส่วนของต้นกัญชง
บางส่วนของต้นกัญชา สารสกัดที่มี CBD (Cannabidiol) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอกกัญชง ช่อดอกกัญชา และเมล็ดกัญชาที่ยังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่

Leave a Reply